บทวิจารณ์การแสดงของวงดนตรีค่ายดนตรีฤดูร้อนประจำปี 2017 จัดโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับภาษาอังกฤษและไทย)

CONFESSIONS OF A RECANTER

Chetana Nagavajara

“There are no bad orchestras; there are only bad conductors.” That famous dictum, rightly or wrongly attributed to Mahler, can contribute much towards creating a myth about the omniscience and omnipotence of the conductor. Be that as it may, a youth orchestra (with the youngest member aged 11), the fruit of this year’s “Silpakorn Summer Music School” (SSMS), could confirm a modified version of that saying, which might run as follows: “An orchestra is as good or as bad as its conductor.” I shall be more explicit.
Being a student of Western culture, I have so often had the Aristotelian dogma about the “catharsis” being the outcome of the experience of a tragedy hammered into my head, but have really never felt anything of the sort, even when face to face with the performance of a tragedy that Western experts rank as their finest. But at the concert “Remembering a Great King” in the afternoon of Sunday, April 9, 2017, after the last note of Symphony No.6 by Tchaikovsky had dissolved into thin air, I had a feeling that “This is it!” The music did not merely stop, a world – a personal one, maybe – ended there. We were definitely captivated by that music, felt along with the composer, and when it ended, we accepted that end in his own terms. That symphony took us on a journey marked by multifaceted moods and emotions. And if it concluded in despair (and not with a “stiff upper lip” like other symphonies by other great composers), that feeling did not linger on. How come? I did not know. I went home, not feeling in anyway elated or depressed; I felt calm, perhaps “purged” of all strong feelings, at peace with myself and with the world.
It’s time to make a recant. I had underestimated Tchaikovsky all these years, taking him to be mushy, a slave to crude emotions. Even those famous orchestras from Moscow that visited Bangkok with their distinguished conductors years ago could not convince me in the same way.
Who is this man Hikotaro Yazaki who could teach a professor of comparative literature a valuable lesson in Western aesthetics? How could a youth orchestra (admittedly feeling fairly comfortable with their tutors sitting with them in the orchestra) achieve an interpretation of Tchaikovsky that could dispel a long-lasting prejudice on the part of a committed admirer of Western classical music? Can a musical experience of a unique kind be created by innocent young performers instead of seasoned professional musicians? I have no answer. The musicians, including the tutors, some of whom hail from very distinguished ensembles in the West, told me they owed it all to the conductor. How can an Asian attain in Western music what those acrobatic band leaders of the originating culture cannot? Asian sophistication and finesse? If this is an insoluble riddle, let it be!
The other two compositions offered at the same concert fared very well too. Narongrit Dhamabutra’s Sinfonia Chakri , composed for a festive royal occasion two decades ago, was a stimulating and dignified offering. I told the composer during the interval that his work could outdo Benjamin Britten’s “The Young Person’s Guide to the Orchestra” with its succinct exploitation of the potential of all orchestral instruments. As for Brahms’s Tragic Overture, after a rather shaky start by the brass – just a matter of stage fright – Yazaki did not take long to instill confidence in his players, and by the time they reached the contrapuntal showpiece ushered in by the strings, things were all in place.
A memorable concert! Let us not forget to thank the backroom boys and girls from the row houses of Taling Chan for their hard work and dedication. Does their University know what they have been doing or even that they exist?

 

 จาก อริสโตเติล ผ่าน ไชคอฟสกี้ มาสู่ ยาซากิ: หรือประสบการณ์ทางดนตรีที่อธิบายได้ยาก

เจตนา นาควัชระ

ในขณะที่กำลังรออ่านบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ที่ย่อมมีความเป็นกลางมากกว่าผม (เพราะผมเป็น “คนใน” ของศิลปากร) ผมก็อดไม่ได้ที่จะต้องรีบขอแสดงความคิดเห็นบ้างสักเล็กน้อยเกี่ยวกับการแสดงของวงดนตรีจากโรงเรียนดนตรีภาคฤดูร้อน ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้จัดต่อเนื่องกันมากว่าทศวรรษมาแล้ว โดยใช้ชื่อว่า Silpakorn Summer Music School (SSMS) การแสดงที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อบ่ายวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2560 ในรายการ “Remembering a Great King” อาจจะเป็นการยืนยันคำคมที่วงการดนตรีตะวันตกถ่ายทอดกันมา (นัยว่า Gustav Mahler เป็นผู้กล่าวไว้) นั่นก็คือ “วงดนตรีที่เลวไม่มีหรอก มีแต่วาทยกรที่เลว” ผมขอปรับความให้ตรงกับความเป็นจริงสักเล็กน้อยว่า “วงดนตรีจะดีหรือเลวขึ้นอยู่กับวาทยกรดีหรือเลว” สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ วงดนตรีซิมโฟนีนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยเยาวชน (ผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 11 ปี!) โดยมีครูผู้ฝึกสอนแซมอยู่ตามกลุ่มเครื่องดนตรีต่างๆ บรรเลงคีตนิพนธ์ที่ยากมากๆ ได้ โดยสามารถตรึงผู้ฟังได้เกือบ 2 ชั่วโมงเต็ม นั่นย่อมไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
เมื่อโน้ตเพลงสุดท้ายของ ซิมโฟนีหมายเลข 6 ของไชคอฟสกี้ละลายหายไปอากาศธาตุ ผมก็อุทานขึ้นมาในใจว่า “เข้าใจแล้ว!” คือที่ครูฝรั่งเขาพร่ำสอนผมมาว่า โศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่นั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความรู้สึกโศกสลดในระหว่างแสดง แต่เมื่อละครจบลงแล้ว ผู้ดูผู้ชมจะเกิดสภาพ “โล่งอารมณ์” (ซึ่งเขาเรียกเป็นภาษากรีกว่า “catharsis” ตามอริสโตเติล) เป็นไปได้อย่างไรที่วงเด็กไปได้ไกลถึงขนาดนั้น โดยปกติผมมีอคติต่อ
ไชคอฟสกี้ว่าเป็นคนที่ไร้รสนิยม เก็บอารมณ์ไว้ไม่ได้ ต้องแสดงออกมาอย่างดิบๆ วาทยกรชาวญี่ปุ่น Hikotaro Yazaki กับวงเด็กของเราแสดงให้ผมเห็นประจักษ์ว่า ไชคอฟสกี้สามารถเผยแสดงอารมณ์ที่หลากหลายได้ ทั้งโศกสลด ฮึกเหิม ร่าเริง และสิ้นหวัง แต่ก็แสดงออกด้วยวิธีที่ละเมียดมาก ไม่มีอารมณ์ “ดิบ” ที่หลุดออกมาเลย แม้แต่ในตอนจบที่แสดงความสิ้นหวัง สภาวะทางอารมณ์นั้นก็เปี่ยมด้วยสุนทรียภาพ ที่ไม่ทำให้เราหดหู่ แต่กลับทำให้เรารับความเป็นจริงได้ว่า เขารู้สึกอย่างนั้น และก็แสดงออกได้อย่างงามงด เรารู้สึกตามเขาไปได้จนถึงจุดสุดท้าย เพลงไม่ได้หยุด แต่เพลงจบจริงๆ เมื่อจบแล้ว เราก็รู้สึกโล่งอารมณ์ เป็นความรู้สึกที่ประหลาด ซึ่งวงดนตรีชั้นยอดจากมอสโกว์ที่เคยมาแสดงพร้อมกับวาทยกรแนวหน้าของเขาทำไม่ได้ (นี่เป็นประสบการณ์ส่วนตัวแท้ๆ ผมไม่รู้จะเถียงกับใครอย่างไร ถ้ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วย)
ผมเฝ้าติดตามงานของยาซากิมา 20 ปี เมื่อ 20 ปีก่อนเขายังมาไม่ถึงจุดนี้ แต่แน่นอนว่าเขาเป็นคนช่างคิด และก็สื่อสารความคิดของเขากับนักดนตรีได้ ผมก็ได้เขียนถึงการแสดงที่โดดเด่นของเขากับวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพมาแล้ว โดยเอ่ยถึง ซิมโฟนีหมายเลข 3 ของเบโธเฟน และ ซิมโฟนีหมายเลข 4 ชอง บราห์มส์ ซึ่งในท่อนสุดท้ายที่เป็นการแปรทำนองไปในแนวต่างๆ (variations) นั้น เขาทำให้แต่ละส่วนมีอัตลักษณ์ทั้งทางเสียงและทางอารมณ์ที่แตกต่างกันไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ในรายการสนทนากับยาซากิ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 ที่สยามสมาคม ผมก็เลยบอกเขาไปว่าผมค้นพบอะไรในการกำกับวงของเขาในครั้งนั้น เขาทำหน้าตื่นๆ เพราะคงนึกไม่ถึงว่าเขาทำได้ถึงขนาดนั้น สวนญี่ปุ่นไม่ได้มีไว้โอ้อวดความเด่น แต่มีไว้เพื่อเจริญใจ ฉันใดก็ฉันนั้น
สิ่งที่น่าทึ่งอีกประการหนึ่งก็คือ ความสามารถในการปรับวงที่ประกอบด้วยผู้เล่นที่ยังเป็นเด็ก (บางคนขาดประสบการณ์ในการเล่นวง) ให้สื่อสารอารมณ์อันลึกซึ้งผ่านการเล่นดนตรีได้ หลังจากที่ฝึกซ้อมมาเพียงสัปดาห์เดียว วาทยกรแนวหน้าของโลก ถ้ามาพบกับวงที่ตอนเริ่มต้นยังไม่เป็นวงอย่างนี้ ก็คงไม่รู้จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร เพราะรู้จักแต่วงอาชีพที่ไม่ต้องสอนกันมาก ผมอดนึกถึง Claudio Abbado (1933-2014) วาทยกรชาวอิตาเลียนผู้ยิ่งใหญ่ไม่ได้ เขาชอบตั้งวงเยาวชน ซึ่งบางวงไม่ยอมเลิกเมื่อผู้เล่นพ้นสภาพเยาวชนไปแล้ว และกลายเป็นวงคลาสสิกชั้นนำไป เช่น Chamber Orchestra of Europe เมื่อเดินไปหลังเวที ผมบอกกับนักดนตรีคนหนึ่งว่า คอนเสิร์ตครั้งนี้ Yazaki พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เขาอยู่ในระดับน้องๆ ของ Abbado เลยทีเดียว เขาทำหน้างงๆ ในระยะหลังนี้ผมทำให้เพื่อนฝูงและผู้ที่ร่วมงานกับผมงงอยู่บ่อยๆ ผมหลุดโลกไปแล้วกระมัง ในเรื่องให้ความรู้สึกเข้ามาครอบงำความเป็นเหตุเป็นผล
ในตอนพักครึ่งเวลา ผมได้พบกับอาจารย์ณรงฤทธิ์ ธรรมบุตร ผู้ประพันธ์เพลง Symphonic Poem “Chakri” ว่า “งานชิ้นนี้ของอาจารย์ทำให้ Benjamin Britten ต้องเปิดหมวกให้เลยทีเดียว” อาจารย์ณรงฤทธิ์ทำหน้างงเหมือนกัน ผมก็เลยชวยคุยต่อไปว่า ผมประทับใจกับการใช้ศักยภาพของเครื่องดนตรีทุกชนิดของวงซิมโฟนีได้อย่างเต็มที่ ไม่มีอะไรที่ด้อยกว่า “The Young Person’s Guide to the Orchestra” ของบริเตนเลย มิหนำซ้ำผมยังวิจารณ์ต่อไปว่า การแสดงครั้งนี้ถูกใจผมมากกว่าการแสดงครั้งก่อนๆ เสียอีก เพราะเด็กๆ แสดงได้สะใจมาก จะมีแกว่งอยู่บ้างก็ในตอนเริ่มต้นของ Tragic Overture ของ บราห์มส์ ซึ่งกลุ่มเครื่องเป่า โดยเฉพาะ เฟรนฮอร์นตื่นเวที แต่ไม่นานนักวงก็เข้าที่ เมื่อมาถึงท่อนที่ปรมาจารย์โยฮันเนสจับพวกเครื่องสายมาทำแบบฝึกหัด counterpoint วงก็แสดงความคงแก่เรียนได้อย่างมีชีวิตชีวาไปพร้อมกัน
ผมจะขออนุญาตสรุปบทวิจารณ์ที่หลุดโลกไปแล้วบทนี้ว่า เวลาที่ผมไปลอนดอน ฟังวงดนตรีทั้งหลายของอภิมหานครหลวงแห่งอดีตจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ (ยกเว้น Philharmonia เพียงวงเดียวที่ไม่เหมือนใคร) ผมยกย่องพวกเขาได้ก็แต่เพียงว่า “มาทำงาน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาทำงานจริงๆ ไม่ขาดไม่เกิน เวลาที่ผมไปเบอร์ลิน และได้ฟังวงเบอร์ลินฟิลฮาร์โมนิค ผมก็อดคิดไม่ได้ว่าพวกเขากำลังแสดงนาฏกรรมแห่งความมั่นใจในตัวเองว่าเขาเป็นวงหมายเลข 1 ของโลก และก็พยายามออกท่าทางให้ผู้ชมเชื่อว่าความจริงเป็นเช่นนั้น นอกจากนั้น วาทยกรหัวฟูของพวกเขาก็แสดงกายกรรมแถมได้อย่างถึงใจพระเดชพระคุณยิ่งนัก
วง SSMS ปี 2017 ทำให้ผมได้รับไออุ่นแห่งความเป็นมนุษย์ ทำลายอคติดั้งเดิมที่มีต่อคีตกวีชาวรัสเซียผู้ยิ่งใหญ่ แล้วผมก็กลับไปบ้านด้วยความโล่งอารมณ์ ประสบการณ์เชิงลึกทางดนตรีไม่เกี่ยวกับฝีมือในการเล่นเครื่องดนตรีกระนั้นหรือ ที่ผมเขียนมานี้ยังไม่ได้เชียร์มหาวิทยาลัยศิลปากรแม้แต้น้อยเลย พวกเราเพียงแค่ทำหน้าที่เป็นข้าช่วงใช้ของดนตรีการเท่านั้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*