Skip to content
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
  • กิจกรรมโครงการ
  • ข่าวสาร
  • Forums
  • ติดต่อเรา

TRF Criticism Project

  • เกี่ยวกับ
    • ประวัติผู้วิจัย
    • ประวัติโครงการ
  • บทความ/บทวิจารณ์
    • บทความ
    • บทวิจารณ์
    • บทวิจารณ์ โดย เจตนา นาควัชระ
  • รอบรั้ว Thaicritic
    • เวทีการวิจารณ์
    • เสวนาขึ้นเขียง
  • สรรนิพนธ์บทวิจารณ์
    • สาขาศิลปะการแสดง
    • สาขาวรรณศิลป์
    • สาขาทัศนศิลป์
    • สาขาสังคีตศิลป์
    • สาขาภาพยนตร์
  • Digital Archive
    • บรรณานุกรมบทวิจารณ์
    • บทวิจารณ์รางวัลกองทุน มล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ
    • ARTS DIGITAL ARCHIVE
  • เจตนา นาควัชระ
    • Berlin Music Festival 2015
    • C.N.: Music Reviews from Berlin 2012
    • ARTICLES AND REVIEWS BY CHETANA NAGAVAJARA (September-October 2012)
    • Recent Articles and Reviews by Chetana Nagavajara
  • กิจกรรมโครงการ
    • รายงานเสวนา
    • clips
    • ข่าวสาร
  • รายงานผลการวิจัย

CataBlog Category: ผลงานการวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัย

ปัญญา วิจินธนสาร: ปรากฏการณ์ศิลปะไทยร่วมสมัย

ตุลาคม 22, 2012
ในวงการจิตรกรรม ชื่อของปัญญา วิจินธนสาร เป็นที่รู้จักใน...
» Read more

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การวิจารณ์ในฐานะปรากฎการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์

กันยายน 20, 2012
สามารถอ่านในรูปแบบ e-book ได้ที่ » Read more

ลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะแขนงต่างๆ ทัศนะของศิลปิน

เมษายน 5, 2012
หนังสือที่รวบรวมข้อมูลจากการสัมมนาในโครงการ การวิจัยการ...
» Read more

รวงทองส่องทางศิลป์

เมษายน 5, 2012
หากกล่าวถึงวงดนตรีไทยที่มีคุณภาพและยืนยงยาวนาน ในประเทศ...
» Read more

พิเชษฐ กลั่นชื่น ทางไปสู่การอภิวัฒน์นาฏศิลป์ไทย

เมษายน 5, 2012
งานวิจัย โดยศึกษา พิเชษฐ กลั่นชื่น ในฐานะผู้แสดงนาฏศิลป...
» Read more

การรับ การเสพ การบริโภคงานศิลปะ

เมษายน 5, 2012
ในประเทศไทย การเสพงานศิลปะเป็นกิจ...
» Read more

80 ปี อังคาร กัลยาณพงศ์

เมษายน 5, 2012
80 ปี อังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นผลงานวิจัยที่จะทำให้ผู้อ่าน...
» Read more

25 ปี การวิจารณ์ คำพิพากษา

เมษายน 5, 2012
ในการศึกษาทั้ง "คำพิพากษา" และ "ชาติ กอบจิตติ" ทำให้มอง...
» Read more
  • การเผยแพร่ในระดับนานาชาติ
  • วรรณศิลป์
  • ทัศนศิลป์
  • ภาพยนตร์
  • สังคีตศิลป์
  • ศิลปะการแสดง
  • บทวิจารณ์รางวัลกองทุน มล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ
  • ผลงาน การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาฯ
  • ผลงานการวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัย

ข่าวสาร

PDF ไฟล์ หนังสือ “วรรณกรรมละคร ของแบร์ทอลท์ เบรคชท์ การศึกษาเชิงวิจารณ์”

รายงานการเสวนา

รายงานสรุปเสวนา องค์ประกอบของการวิจารณ์ในการเรียนการสอนศิลปะการละคร

คลังเก็บ

ความเห็นล่าสุด

  • เพ็ญ พรมมาวันนา บน มีอะไรในลูกอีสาน
  • คลิปการบรรยายย้อนหลังในหัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้า…การวิจารณ์วรรณกรรมในประเทศไทย” EP.01 – จ บน โครงร่างการบรรยาย “ความคิดเรื่องวุฒิภาวะในศิลปะและการวิจารณ์”
  • รุ่งภัทร เริงพิทยา บน ลงทะเบียนการประชุมเสนอผลงานการวิจัยโครงการวิจัย “ความสำนึกร่วมในพัฒนาการศิลปะและการวิจารณ์ของไทย: หมุดหมายที่สำคัญในช่วง พ.ศ. 2475-2550”

Books

CRITICISM AS CROSS CULTURE ENCOUNTER
โครงการวิจัย "การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2" ดำเนินกิจการในลักษณะข้ามชาติมาตั้งแต่เริ่มแรก โดยมีการเชิญวิทยากรชาวต่างประเทศให้เสนอทัศนะที่เกี่ยวกับงานศิลปะในลักษณะของการเปรัยบเทียบข้ามวัฒนธรรม กลุ่มที่มาร่วมอภิปรายในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ ประกอบด้วยศิลปิน นักวิชาการ นักวิจารณ์ และผู้รักสมัครเล่นทั้งไทยและต่างประเทศ การปะทะสังสรรค์ทางความคิดอย่างเปิดเผยได้รับการบันทึกไว้ในรายงานการสัมมนาข้ามวัฒนธรรมรวม 5 ครั้ง ในสาขาทัศนศิลป์ สังคีตศิลป์ และศิลปะการละคร โดยบรรณาธิการ (Morgan Lake) ให้ทัศนะในบทสังเคราะห์ที่ท้าทายเอาไว้เพื่อเป็นการยืนยันว่า การวิจารณ์ในลักษณะข้ามชาติเช่นนี้ คือการสร้างความมั่งคั่งทางปัญญา มิใช่แต่เฉพาะกลุ่มที่มาร่วมกิจกรรม แต่มีนัยสำคัญต่อวงการศิลปะและสังคมโดยทั่วไปด้วย

ราคา 165 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF File หนังสือได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1LoPNNQOeHYxPj7ig67dILFca2crpQC4z/view?usp=sharing
Fervently Mediating Criticism from a Thai Perspective
เป็นผลงานรวมบทความภาษาอังกฤษของ เจตนา นาควัชระ (หัวหน้าโครงการวิจัยฯ) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยและเทศในแง่มุมต่างๆ อย่างหลากหลาย โดยมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรากฐานของศิลปวัฒนธรรมไทยแก่นักอ่าน นักวิชาการชาวต่างประเทศ รวมทั้งเสนอทัศนะและมุมมองใหม่ๆ ในทางศิลปวัฒนธรรมจากจุดยืนของนักวิชาการไทยไปสู่สากล

ราคา 260 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์ หนังสือได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1Wznvs-2bh9MevC3lZUlSxD-MU4HkZyXy/view?usp=sharing
กวีนิพนธ์นานาชาติ การศึกษาเชิงวิจารณ์
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวมบทความวิชาการ เล่มที่ 2 ของโครงการวิจัย "การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2" เป็นการนำเสนอแนวทางและหลักวิชาในการศึกษากวีนิพนธ์ชาติต่างๆ รวม 5 ชาติ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และไทย โดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาเหล่านั้น คือ จาตุรี ติงศภัทิย์ (กวีนิพนธ์อังกฤษ) สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ (กวีนิพนธ์อเมริกัน) อัจฉรา วรรณชษฐ์ (กวีนิพนธ์ฝรั่งเศส) สุดาวรรณ สินธุประมา (กวีนิพนธ์เยอรมัน) และดวงมน จิตร์จำนงค์ (กวีนิพนธ์ไทย) และมีบทนำที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของกวีนิพนธ์ในระดับนานาชาติโดยองค์รวมของเจตนา นาควัชระ หนังสือเล่มนี้อาจเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ด้วยเพราะสามารถชี้ทางให้เห็นว่าการอ่านกวีนิพนธ์ที่กอปรด้วยวิจารณญาณเป็นอย่างไร

ราคา 130 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์ หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/17b_Cx2qVkMUchA75_cqc9JlrRoY-9iqr/view?usp=sharing
การวิจารณ์ทัศนศิลป์ ข้อคิดของนักวิชาการไทย
ศิลปินและนักวิชาการด้านทัศนศิลป์จากหลายสำนักรวมตัวกันเสนอบทความซึ่งเป็นการให้พื้นฐานและหลักวิชาที่ชี้ทางในด้านการวืจารณ์ในสาขาต่างๆ อาทิ ภาพพิมพ์ ประติมากรรม และศิลปะจัดแสดง โดยมีบทนำเชิงวิเคราะห์ของบรรณาธิการ (สายัณห์ แดงกลม และจักรพันธ์ วิลาสินีกุล) ที่ชี้ให้เห็นศักยภาพและทิศทางของการวิจารณ์ทัศนศิลป์ในประเทศไทย บทความเหล่านี้อาจให้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ และในขณะเดียวกันก็เป็นตัวอย่างของการวิจารณ์ที่บ่งชี้ถึงจุดอ่อนจุดแข็งของวงการ ประเด็นบางประเด็นเป็นการท้าทายให้เกิดการวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ เช่น เรื่องของการเดินตามตะวันตกแบบสุดขั้ว เป็นต้น

ราคา 160 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1prpCyrI4wl27dpKwjwKKk702O96nfg86/view?usp=sharing
เก่ากับใหม่ อะไรไหนดี มนุษยศาสตร์ไทยในกระแสของความเปลี่ยนแปลง
ความเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่ทำให้เกิดการรับประสบการณ์ผ่านสื่อนานาชนิด หรือประสบการณ์ทุติยภูมิ มีผลกระทบอันใดกับวงการศิลปะและสังคมไทยโดยรวม หนังสือรวมบทความทางวิชาการของเจตนา นาควัชระ เล่มนี้ พยายามที่จะให้คำตอบ และชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของมนุษยศาสตร์ในการที่จะเผชิญกับปัญหาของปัจจุบัน รวมทั้งชี้ทางไปสู่อนาคต

ราคา 195 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์คมบาง ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1gtitqGggupC4dFpkAAY3Iwnzx8RMRnAM/view?usp=sharing
จากแผ่นดินแม่สู่แผ่นดินอื่น รวมบทความวิชาการและบทวิจารณ์
หนังสือรวมบทวิจารณ์ของเจตนา นาควัชระ เล่มนี้ จัดได้ว่าเป็นผลงานต่อเนื่องจาก เพราะรักจึงสมัครเข้ามาเล่น (2540) และ ครุ่นคิดพินิจนึก (2546) การวิจารณ์เชิงปฏิบัติมิใช่เป็นเพียงการเล่าประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับงานศิลปะทั้งของไทยและเทศ แต่ผู้เขียนพยายามวิเคราะห์ปฏิกิริยาทางอารมณ์และความคิด เพื่อหาข้อสรุปรวมทั่วไปที่เกี่ยวกับการตีความและการประเมินคุณค่าศิลปะ ปาฐกถาเรื่อง "ดนตรีกับชีวิต" เป็นการสรุปประสบการณ์อันยาวนานที่ชี้ให้เห็นว่าศิลปะเชื่อมโยงกับชีวิตอย่างไร

ราคา 240 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์คมบาง ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1gZF0ZcwosweVyreACsmYFQYxYfKf9YUw/view?usp=sharing
จากเวทีละครสู่เวทีการวิจารณ์ รวมบทความวิชาการ
เป็นหนังสือรวมบทความวิชาการ โดยนักวิจัยของโครงการฯ และนักวิชาการรับเชิญ เป็นการพินิจละครจากมุมมองอันหลากหลาย จากการให้ประวัติการวิจารณ์ละครในประเทศไทย ไปสู่การใช้ปรัชญาพุทธศาสนาอธิบายกิจกรรมการละคร บทความบางบทให้ความรู้พื้นฐานและหลักการในการวิจารณ์ละครที่สามารถนำไปใช้ได้ดุจคู่มือการวิจารณ์ หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่าการวิจารณ์สามารถทำหน้าที่อันหลากหลาย ตั้งแต่การสร้างความเข้าใจและความชื่นชมในละครให้แก่มหาชน ไปจนถึงขั้นชี้ทางอันสร้างสรรค์ให้แก่ผู้แสดงด้วย ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ ทำหน้าที่บรรณาธิการ

ราคา 245 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1jl_yIHmq3mm886_GHGqEwoFt4odx2QWq/view?usp=sharing
จากศิลปะสู่การวิจารณ์ : รายงานการวิจัย From Work of Art to Critical Arena : Summary Report
เป็นรายงานของคณะผู้วิจัยในโครงการ "การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย" (ภาค 2 : 2545-2548) ในสาขาทั้ง 4 อันได้แก่ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร และสังคีตศิปล์ รวมทั้งผลการวิจัย "การรับการวิจารณ์" ในบทสังเคราะห์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เจตนา นาควัชระ หัวหน้าโครงการ ได้ชี้ให้เห็นว่า ผลการวิจัยบ่งบอกสารอันสำคัญๆ เกี่ยวกับสังคมไทยร่วมสมัย เกินกรอบที่ว่าด้วยศิลปะโดยตรง อาทิ ปัญหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมการอ่าน และความแข็งแกร่งของการปฏิบัติในวงการศิลปะไทยที่แฝงไว้ด้วยนัยเชิงทฤษฎีที่ลุ่มลึกและกว้างไกล ซึ่งนักวิชาการรุ่นใหม่จำจะต้องช่วยกันสกัดออกมาเป็นองค์ความรู้และทฤษฎีที่จะส่งผลทั้งในด้านวิชาการและย้อนกลับไปสู่การปฏิบัติ

ราคา 365 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com
ตามใจฉัน ตามใจท่าน ว่าด้วยการวิจารณ์และการวิจัย
จากประสบการณ์ของนักวิชาการและนักวิจัย เจตนา นาควัชระ ยืนยันหลักการที่ว่า ความพึงพอใจส่วนตน (ตามใจฉัน) กับการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (ตามใจท่าน) น่าที่จะประสานสัมพันธ์กันได้ บทความวิชาการที่รวมเล่มไว้ในหนังสือเล่มนี้วิเคราะห์ศิลปะหลากสาขา และพิสูจน์ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งศิลปะกับโลกแห่งความเป็นจริงในชีวิตและสังคม

ราคา 240 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์คมบาง ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1VXiMGq3jj7iRNB--sI-1608EN2xdm4Cl/view?usp=sharing
ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย ทัศนะวิจารณ์ต่อนวนิยายรุ่นแรก
เช่นเดียวกับหนังสือ มองข้ามบ่านักเขียน : เรื่องสั้นไทยในทัศนะการวิจารณ์ หนังสือเล่มใหม่เป็นผลงานร่วมของนักวิจารณ์ 10 คน ที่เกาะกลุ่มกันเพื่อสร้างทวิวัจน์ (dialogue) เชิงวิชาการ โดยนำนวนิยายไทยรุ่นบุกเบิกรวม 12 เรื่องมาวิเคราะห์ เป็นที่แน่ชัดว่าแม้รูปแบบของนวนิยายจะเป็นผลมาจากการได้สัมผัสกับวัฒนธรรมตะวันตก แต่นักเขียนไทยก็ได้สร้างนวัตกรรมที่ทรงคุณค่าขึ้นมา และนวนิยายในฐานะประเภทของวรรณกรรม (literary genre) ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในเสาหลักของวัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ของไทย สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ทำหน้าที่บรรณาธิการและเขียนบทวิเคราะห์นำ

ราคา 240 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์คมบาง ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1s0RG-0IBwGpxRpNMXLYw-AOsvHSk7DX4/view?usp=sharing
พลังการวิจารณ์ : บทสังเคราะห์ Criticism as an Intellectual Force in Comtemporary Society : Summary Report
ร่วมกับสำนักพิมพ์คมบาง หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 1 ในจำนวน 6 เล่มของผลงานวิจัยในโครงการวิจัย "การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย" ภาคแรก (พ.ศ. 2542-2545) เขียนโดย เจตนา นาควัชระ หัวหน้าโครงการ ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่บ่งบอกขอบเขตและลักษณะของการวิจัยอันเป็นการพิเคราะห์งานวิจารณ์ของไทยนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เปรียบเทียบกับงานวิจารณ์นานาชาติบนรากฐานของข้อมูลอันกว้างขวางใน 4 สาขา คือ การวิจารณ์วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร และสังคีตศิลป์ (โดยได้คัดสรรตัวอย่างของงานวิจารณ์ตัวอย่าง รวม 50 บทในแต่ละสาขามาวิเคราะห์ และตีพิมพ์แยกออกต่างหากอีก 4 เล่ม) งานวิจัยนี้สามารถชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของการวิจารณ์ของไทย และให้ข้อเสนอแนะในการที่จะปรับศักยภาพของการวิจารณ์ให้เป็นพลังทางปัญญาให้แก่สังคม นอกจากนี้ยังมีบทสังเคราะห์เป็นภาษาอังกฤษในรูปของ Summary Report พร้อมบทความเชิงทฤษฎีการวิจารณ์ที่เป็นบทแปลภาษาอังกฤษอันเป็นการขยายผลของการวิจัย

ราคา 250 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์คมบาง ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com
เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล
หนังสือเล่มนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านสังคีตศิลป์เรื่อง "มัณฑนาวิชาการ" ของโครงการวิจัย "การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2" ในการสัมมนาครั้งนั้น วิทยาการที่ประกอบด้วย นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักวิจารณ์ และนักวิชาการ ได้ร่วมกันวิเคราะห์ผลงานเพลงของ มัณฑนา โมรากุล นักร้องแนวหน้าของไทย รวมทั้งมีการจัดการแสดงการขับร้องเพลงของมัณฑนา โมรากุล โดยนักร้องที่มีชื่อในยุคปัจจุบัน ผลการสัมมนาและการแสดงดนตรียืนยันได้ว่า มัณฑนา โมรากุล เป็นหนึ่งในบรรดานักร้องรุ่นบุกเบิกที่สร้างรากฐานอันมั่นคงให้แก่เพลงไทยในฐานะประเภทของศิลปะ (artistic genre)

ราคา 170 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1zkyq24nb7t-okkCFpYwtTQjnoOCUlDgU/view?usp=sharing
พลังการวิจารณ์ : วรรณศิลป์
ร่วมกับสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นทั้งรายงานการวิจัย และตำราทางวิชาการ บทวิเคราะห์ของผู้วิจัย (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ และคณะ) ให้ภาพรวมของการวิจารณ์ด้านวรรณศิลป์ของไทยจากข้อมูลเอกสารที่รวบรวมได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งผลจากการจัดกิจกรรมการวิจารณ์ของโครงการเอง ที่ให้ทั้งองค์ความรู้และข้อสรุปรวมเชิงทฤษฎี นอกจากนี้ยังได้คัดสรรบทวิจารณ์ตัวอย่างไว้ 50 บท เป็นงานของนักวิจารณ์ไทย 47 บท และของนักวิจารณ์ต่างประเทศ 3 บท โดยทุกบทมีบทวิเคราะห์ของผู้วิจัยประกอบด้วย อันจะยังประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้อีกด้วย

ราคา 560 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด 413/26 ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
โทรศัพท์ : 0-2434-1347, 0-2435-5789 โทรสาร : 0-2434-6812
www.prapansarn.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1p5RsLDSBScTg9-fJ-WwEayqXgONqjv6E/view?usp=sharing
พลังการวิจารณ์ : ศิลปะการละคร
ร่วมกับสำนักพิมพ์ ณ เพชร หนังสือเล่มนี้เป็นรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการวิจารณ์ละคร แต่องค์ความรู้ที่นำมาวิเคราะห์และสรุปรวมอย่างเป็นระบบ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ด้วย จากฐานข้อมูลเอกสารอันกว้างขวาง ผู้วิจัย (ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ และคณะ) ได้คัดสรรบทวิจารณ์ของนักวิจารณ์ไทย 22 บท และนักวิจารณ์ชาวต่างประเทศ 28 บท รวมเป็น 50 บท มาเป็นตัวอย่าง พร้อมให้บทวิเคราะห์ประกอบทุกบท จากข้อมูลเอกสารและจากกิจกรรมการวิจารณ์เชิงปฏิบัติ ผู้วิจัยสามารถจะชี้ให้เห็นว่าการวิจารณ์เป็นพลังทางปัญญาให้แก่สังคมได้อย่างไร

ราคา 560 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ ณ เพชร ตู้ ปณ. 154 ปณจ. บางกอกน้อย กทม. 10700
www.napetch.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1qsgn-BxN2xs4PE6No_I8imzqcVQUy0_P/view?usp=sharing
พลังการวิจารณ์ : สังคีตศิลป์
ร่วมกับสำนักพิมพ์ชนนิยม หนังสือเล่มนี้ให้ภาพของการวิจารณ์ดนตรีในสังคมไทย ซึ่งแต่เดิมยังเป็นการแสดงทัศนะในหมู่คนในวงการอย่างไม่เป็นทางการ ในกรอบของวัฒนธรรมมุขปาฐะ ผู้วิจัย (รังสิพันธุ์ แข็งขัน และคณะ) พยายามชี้ให้เห็นว่าการปรับการวิจารณ์ให้เป็นกิจสาธารณะด้วยการเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นทางที่จะสร้างพลังทางปัญญาให้แก่สังคมได้อย่างไร ทั้งนี้มีการเสนอบทวิจารณ์ตัวอย่างรวม 50 บท อันเป็นผลงานของนักวิจารณ์ไทยและต่างประเทศ แบ่งเป็นบทวิจารณ์ดนตรีไทย 23 บท และดนตรีตะวันตก 27 บท แต่ละบทมีบทวิเคราะห์ประกอบ รวมทั้งบทนำเชิงวิเคราะห์ที่ให้หลักวิชาในการวิจารณ์ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ด้วย

ราคา 500 บาท
จัดจำหน่ายโดย บริษัทชนนิยม จำกัด
244/539 หมู่บ้านเธียรสวน ถนนรามอินทรา บางเขน กทม. 10200
โทรศัพท์, โทรสาร : 0-2552-4070, 0-2670-5759, 0-2970-6586
www.chonniyom.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/16j_ncmdrM0ZJFSqjHHKYqUJRla_mCIWp/view?usp=sharing
พลังการวิจารณ์ : ทัศนศิลป์
ร่วมกับสำนักพิมพ์ชนนิยม หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นทั้งรายงานการวิจัย และตำราทางวิชาการ ในบทวิเคราะห์ ผู้วิจัย (จักพันธ์ วิลาสินีกุล และคณะ) เสนอภาพรวมของการวิจารณ์ด้านทัศนศิลป์ของไทยเทียบเคียงกับวงการนานาชาติ จากรากฐานข้อมูลเอกสารที่กว้างขวางทั้งของไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยังให้ข้อสรุปจากผลการจัดกิจกรรมทางวิจารณ์เชิงปฏิบัติที่ชี้ให้เห็นข้อเด่นข้อด้อยของวงการทัศนศิลป์ไทย สำหรับสรรนิพนธ์บทวิจารณ์ตัวอย่างรวม 50 บท เป็นผลงานของนักวิชาการไทย 27 บท และนักวิจารณ์ชาวต่างประเทศ 23 บท โดยทุกบทมีบทวิเคราะห์ของผู้วิจัยประกอบด้วย หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ด้วย

ราคา 650 บาท
จัดจำหน่ายโดย บริษัทชนนิยม จำกัด
244/539 หมู่บ้านเธียรสวน ถนนรามอินทรา บางเขน กทม. 10200
โทรศัพท์, โทรสาร : 0-2552-4070, 0-2670-5759, 0-2970-6586
www.chonniyom.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1xjtQWXRGRmS0VE42Be9WDkC51DUK41MR/view?usp=sharing
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน
เป็นผลงานต่อเนื่องจากหนังสือ "เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล" ว่าด้วยคีตศิลป์แนวไทยสากลที่ผู้รู้และนักวิชาการนำมาวิเคราะห์ร่วมกันในการสัมมนา "เพ็ญศรีวิชาการ" และการแสดงดนตรี "แด่เพ็ญศรี คีตศิลปิน" เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2548 วิทยากรซึ่งประกอบไปด้วย นักแต่งเพลง นักร้อง นักดนตรี นักวิชาการ ได้ร่วมกันวิเคราะห์ให้เห็นว่า ศิลปะในการขับร้องของ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มีลักษณะอย่างไร อีกทั้งยังได้ศึกษาอิทธิพลของเพ็ญศรีที่มีต่อวงการเพลงไทยสากล รวมทั้งได้มีการสำรวจผลงานโดยรวมของเพ็ญศรี ซึ่งบางส่วนเป็นหลักฐานจากการอัดเสียงในรูปแผ่นครั่งของกรมประชาสัมพันธ์ที่มิได้มีการเผยแพร่ทั่วไป

ราคา 160 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1GpTqO_WOHsuEiBnW19BC89CiZDif040g/view?usp=sharing
มองข้ามบ่านักเขียน : เรื่องสั้นไทยในทัศนะนักวิจารณ์
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานร่วมของนักวิจารณ์ไทย จำนวน 12 คน พร้อมด้วยที่ปรึกษาอีก 4 คน ซึ่งได้แลกเปลี่ยนทัศนะวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องสั้นไทยต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน แล้วจึงร่วมกันคัดสรรเรื่องสั้นไทยที่ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของวรรณกรรมประเภทนี้จำนวน 12 เรื่อง โดยแบ่งกันเขียนบทวิจารณ์คนละ 1 บท ผลที่ได้จึงมิใช่เป็นเพียงผลงานของนักวิจารณ์แต่ละคน แต่สะท้อนให้เห็นปฏิสัมพันธ์่ทางความคิดที่เริ่มจะก่อตัวขึ้นมาเป็น "สำนัก" แห่งการวิจารณ์อย่างไม่เป็นทางการ สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้เขียนบทวิเคราะห์

ราคา 295 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1FaN5-t20s3cQAYUevN7SN5-jpN_hToFP/view?usp=sharing
พลังการวิจารณ์ : รวมบทวิจารณ์ร่วมสมัย
ร่วมกับสำนักพิมพ์คมบาง ผลงานเล่มนี้มีลักษณะเป็นสรรนิพนธ์บทวิจารณ์งานวรรณกรรมร่วมสมัยในช่วงปี 2542-2545 ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยและผู้สนใจทั้ง 4 สาขา คือ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ สังคีตศิลป์ และศิลปะการละคร เขียนขึ้นในช่วงที่ทำโครงการวิจัยการวิจารณ์ภาคแรก แต่เนื่องจากผู้วิจัยไม่อยู่ในฐานะที่จะคัดสรรและวิเคราะห์ผลงานของตนเองได้ด้วยความเป็นกลาง โครงการฯ จึงได้เชิญ สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ เป็นบรรณาธิการ ทำหน้าที่คัดสรรและวิเคราะห์ผลงาน บรรณาธิการได้กล่าวถึงผลงานของผู้วิจัยว่าเป็น "งานซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันของนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานศิลปะจากต่างสาขา ชี้ชัดถึงการพัฒนาศักยภาพและทักษะทางการวิจารณ์และพิสูจน์ถึงความลุ่มลึกของคำว่า 'ส่องทาง' ทั้งในแง่ศิลปะและการวิจารณ์ 'ส่องทางให้แก่กัน'" ผลงานเล่มนี้มีบทวิจารณ์รวมทั้งสิ้น 30 บท แบ่งออกเป็นสาขาวรรณศิปล์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร สาขาละ 7 บท สาขาสังคีตศิลป์ 8 บท และบทความนำ "ศิลปะส่องทางให้แก่กัน" ของเจตนา นาควัชระ

ราคา 200 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์คมบาง ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com
ลายลักษณ์แห่งการวิจารณ์ : รวมบทวิจารณ์ร่วมสมัย เล่ม 2
เป็นผลของการคัดสรรบทวิจารณ์ที่นักวิจัยและผู้ร่วมโครงการวิจัย "การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2" เขียนขึ้น ผู้เขียนส่วนใหญ่ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี ดูประหนึ่งจะมีการก่อตัวกันขึ้นเป็น "สำนัก" อย่างไม่เป็นทางการ และมีทิศทางร่วมกันอยู่บ้าง นั่นก็คือการใช้การวิจารณ์ให้เป็นกลไกในการปลุกพลังทางปัญญาให้แก่สังคม โดยพยายามใช้เหตุผลอธิบายว่าจุดเด่นและจุดด้อยของศิลปะทั้ง 4 แขนงคือ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร และสังคีตศิลป์อยู่ ณ ที่ใด คงกฤช ไตรยวงค์ ทำหน้าที่บรรณาธิการ และเขียนบทนำเชิงวิเคราะห์

ราคา 240 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1FaN5-t20s3cQAYUevN7SN5-jpN_hToFP/view?usp=sharing
วิถีแห่งการวิจารณ์ : ประสบการณ์จากสามทศวรรษ
เจตนา นาควัชระ เป็นนักวิชาการที่สร้างผลงานต่อเนื่องในด้านการวิจารณ์ ทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาทฤษฎี และการวิจารณ์เชิงปฏิบัติ หนึ่งในผลงานที่นำมารวมเล่มในที่นี้ัคือ "วรรณคดีวิจารณ์และวรรณคดีศึกษา" (2514) ซึ่งมีผู้ใช้อ้างอิงต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ผู้เขียนได้เพิ่มผลงานล่าสุดที่ว่าด้วย "หลักการวิจารณ์" รวมทั้งปาฐกถา ศิลป์ พีระศรี 2548 ในหัวข้อ "บ้านเมืองจะอับจน ถ้าผู้คนร้างศิลปะ" และ "บทสังเคราะห์" ที่มาจากงานวิจัยกวีนิพนธ์นานาชาติ หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับใช้ในการเรียนการสอนด้วย

ราคา 270 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1nRuB4yRk1FUCdniPY6yfqahYRMBJDNfE/view?usp=sharing
ศิลป์ส่องทาง
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความทางวิชาการของเจตนา นาควัชระ รวม 10 บท ซึ่งเคยตีพิมพ์ในนิตยสารหรือวารสารวิชาการต่างๆ มาก่อน และบางบทมาจากการบรรยายทางวิชาการ บทความทั้งหมดสะท้อนปัญหาและบทบาททางวัฒนธรรมของการวิจารณ์ในประเทศไทย ที่มุ่งให้เกิดการรู้-คิด-วินิจฉัย ในเรื่องของศิลปะทั้ง 4 สาขา คือ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร และสังคีตศิลป์ เน้นการวิเคราะห์บทบาทของการวิจารณ์ทั้ง 4 สาขา ที่ส่องทางให้แก่กัน การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและวัฒนธรรมจากภูมิภาคต่างๆ ของโลก ตลอดจนถึงเรื่องการวิวาทะกวีนิพินธ์ร่วมสมัยของไทยกับตะวันตก สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ทำหน้าที่บรรณาธิการและเขียนบทนำเชิงวิเคราะห์

ราคา 210 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์คมบาง ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/123La_RP3hO6Kj20dKFwSc3IryMaPcpRM/view?usp=sharing
25 ปี การวิจารณ์ คำพิพากษา
ในการศึกษาทั้ง "คำพิพากษา" และ "ชาติ กอบจิตติ" ทำให้มองเห็นเส้นทางของการวิจารณ์วรรณกรรม ทั้งการใช้ทฤษฎีการวิจารณ์ การตีความอันเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย

ราคา 165 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1Iiv3F_sNIW4KmVWWdtFzmrW3fvftNRuH/view?usp=sharing
80 ปี อังคาร กัลยาณพงศ์
80 ปี อังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นผลงานวิจัยที่จะทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจแนวทางการวิจารณ์กวีนิพนธ์ ตลอดจนได้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างโลกของผู้เขียนกับการสร้างสรรค์งานเขียน

ราคา 190 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1RSBKwMfu6ughVa3BcE9gj6SnqaxhJ8Un/view?usp=sharing
การรับ การเสพ การบริโภคงานศิลปะ
ในประเทศไทย การเสพงานศิลปะเป็นกิจกรรมยามว่างที่มีกลุ่มผู้สนใจปฏิบัติอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง กล่าวให้ชัดเจนขึ้นก็คือ ผลงานศิลปะทั้งวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และสังคีตศิลป์ เป็นที่ชื่นชมและบริโภคในกลุ่มวงการศิลปะกันเอง หรือเป็นผู้ที่ชื่นชอบศิลปะแขนงนั้นเป็นพิเศษ เว้นแต่ว่า งานศิลปะนั้นๆ จะมีลักษณะเชิงพาณิชย์ชัดเจน มีระบบการตลาดที่แข็งกว่าคุณค่าทางศิลปะ หรือมี “ดารา” เป็นจุดดึงดูดความสนใจจากสื่อมวลชนและคนทั่วไป

"การรับ การเสพ การบริโภคงานศิลปะ" เป็นงานวิจัยของ โครงการวิจัยการวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย (ภาค 2 ) นำโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ เมธีวิจัยอาวุโส ซึ่งสนใจในปรากฏการณ์การรับ การเสพ และการบริโภคงานศิลปะของคนในสังคมไทย จึงได้ศึกษาทั้งกระบวนการของการจัดเผยแพร่งานศิลปะ เพื่อวิเคราะห์ลึกถึงรากเหง้าของที่มาแห่งวิกฤตทางศิลปะในสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็เพื่อสามารถมองสังคมไทยอย่างเข้าใจ สามารถตั้งรับ และยกระดับศิลปะทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ผู้สร้าง และผู้รับ

ในสถานการณ์ที่สังคมไทยขาดแนวคิดในการยกระดับงานศิลปะของประเทศ "การรับ การเสพ การบริโภคงานศิลปะ" เป็นหนังสือเล่มสำคัญ ที่จะทำให้มองเห็นแนวทางที่จะยกระดับศิลปะทั้งกระบวนการ

สำนักพิมพ์ชมนาด มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้รับความไว้วางใจในการจัดพิมพ์ "การรับ การเสพ การบริโภคงานศิลปะ" เล่มนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวงการวิชาการด้านศิลปะทั่วประเทศจะได้รับประโยชน์ยิ่งจากหนังสือเล่มนี้

ราคา 125 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1YHg_AZfRGmcuxkQIbROdotuwIQqP0BuK/view?usp=sharing
พิเชษฐ กลั่นชื่น ทางไปสู่การอภิวัฒน์นาฏศิลป์ไทย
งานวิจัย โดยศึกษา พิเชษฐ กลั่นชื่น ในฐานะผู้แสดงนาฏศิลป์ไทย ที่คงทั้งความเป็นศิลปะไทยและมีทั้งความร่วมสมัย โดยพิเชษฐเอง นอกจากมีพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยที่ดีแล้ว ยังได้ไปศึกษาต่างประเทศด้านการแสดง ทำให้หลอมรวมความเป็นไทยกับความเป็นสากล เป็นงานวิจัยที่น่าอ่านอย่างยิ่ง

ราคา 125 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1duvc9_2nNU2zEpNAbsOUzwfmAaqo5MVN/view?usp=sharing
รวงทองส่องทางศิลป์
หากกล่าวถึงวงดนตรีไทยที่มีคุณภาพและยืนยงยาวนาน ในประเทศไทย ชื่อ “สุนทราภรณ์” โดดเด่นปรากฏชัด ที่สำคัญ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี พ.ศ. 2553- 2554 สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล จากองค์กรวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก*
วงดนตรีสุนทราภรณ์ จึงเป็นเสมือน “สำนัก” ที่สร้างคนดนตรีคุณภาพจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

สำนักพิมพ์ชมนาด ได้เคยตีพิมพ์ผลงานการวิจัย ของโครงการ การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2 ที่เป็นงานวิจัยนักร้องสุนทราภรณ์ 2 คน คือ “เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล” เมื่อปี พ.ศ. 2547 และ “เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน” เมื่อปี พ.ศ. 2549 อันเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวงการดนตรีไทย
โครงการ การวิจัยการวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์ อันเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจาก โครงการ การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2 ได้ศึกษาวิจัยนักร้องจากวงดนตรีสุนทราภรณ์อีกครั้ง นั่นคือ รวงทอง ทองลั่นธม ซึ่งเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องอย่างมาก และยังคงอาชีพร้องเพลงต่อเนื่องจากอดีตมาจนปัจจุบัน

ที่น่าสนใจคือ รวงทอง มิได้เป็นเพียงนักร้องเสียงดี หากรวงทองยังเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์ของศิลปินไม่แพ้พรแสวงแห่งอาชีพของตน ซึ่งทำให้การร้องเพลงของรวงทองมีเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบ และเป็นถึงระดับ “ตำนาน” ของวงการเพลงไทย

ผู้ที่ติดตามผลงานเพลงของ รวงทอง ทองลั่นทม หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เชื่อว่าคงจะตระหนักชัดยิ่งขึ้นในความสามารถและความไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้ของรวงทอง ส่วนผู้ที่เป็นแฟนเพลงรุ่นใหม่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการเพลง การได้ศึกษาเส้นทางชีวิตและผลงานของรวงทอง น่าจะทำให้ได้มองเห็นความมุ่งมั่น และความเป็นอัจฉริยะของรวงทอง อันสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีได้

ราคา 90 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1ueCYrpa5nwXHgk2YR1MAJJE1YgbQkWqM/view?usp=sharing
ลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะแขนงต่างๆ ทัศนะของศิลปิน
หนังสือที่รวบรวมข้อมูลจากการสัมมนาในโครงการ การวิจัยการวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัยเพื่อการพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์ โดยมี ผศ. ดร. ธีระ นุชเปี่ยม เป็นหัวหน้าโครงการ

ผู้ร่วมสัมมนา คือ

อัศศิริ ธรรมโชติ (วรรณศฺลป์)

อรรฆ์ ฟองสมุทร (ทัศนศิลป์)

ประดิษฐ ปราสาททอง (ศิลปะการแสดง)

อมานัต จันทรวิโรจน์ (สังคีตศิลป์)

ราคา 90 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1o0L-fJuMIJlFScNg9qrf5pDcaMRFqE5k/view?usp=sharing
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การวิจารณ์ในฐานะปรากฎการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์
สามารถอ่านในรูปแบบ e-book ได้ที่ http://www.thaicritic.com/criticism-ebook/index.html
ปัญญา วิจินธนสาร: ปรากฏการณ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
ในวงการจิตรกรรม ชื่อของปัญญา วิจินธนสาร เป็นที่รู้จักในฐานะจิตรกรผู้สร้างงานแนวศิลปะไทย ที่มีเอกลักษณ์ เป็นที่ยอมรับทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ ความสำเร็จของปัญญา วิจินธนสาร มักได้รับการกล่าวถึงในมุมของศิลปินผู้ประสบความสำเร็จ ทั้งผลงานและ
รายได้ ทว่าการกล่าวลึกลงไปถึง "ต้นธาร" ของความสำเร็จดังกล่าว มีไม่มากนัก โดยเฉพาะการสะสมองค์ความรู้ด้านศิลปะมาสู่
กันปรับประยุกต์ศิลปะแบบไทยให้มีความเป็นสากล ซึ่งทำให้ผลงานของปัญญา วิจินธนสาร โดดเด่น แตกต่าง และประสบความสำเร็จ
ดังกล่าว และกล่าวได้ว่าเป็นปรากฏการณ์จิตรกรรมไทยร่วมสมัย

ปัญญา วิจินธนสาร : ปรากฏการณ์จิตรกรรมไทยร่วมสมัย เป็นการศึกษาวิจัย ปัญญา วิจินธนสาร ในฐานะศิลปินผู้สร้างงาน
จิตรกรรมไทยร่วมสมัย ซึ่งทำให้มองเห็นรากเหง้าของศิลปะไทย และมองเห็นกระบวนการของศิลปิน ที่ได้ปรับประยุกต์เทคนิคและวิธี
รวมทั้งความคิดในผลงานศิลปะไทยให้เป็นสากล โดยได้รับอิทธิพลจากการไปด้านศึกษาศิลปะจากต่างประเทศ เป็นการศึกษาวิจัยที่มี
ความสำคัญยิ่งสำหรับวงการศิลปะไทย

ราคา 250 บาท
จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ชมนาด ตู้ ป.ณ. 9 ปท. อ่อนนุช กทม. 10250
โทรศัพท์ : 0-2368-2689 www.combangweb.com

ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่  https://drive.google.com/file/d/18LVn8paB9K0BlKnRKCAs1QpXmnzN0dYX/view?usp=sharing
ทางสายกลางแห่งการวิจารณ์
บางส่วนจากคำนำหนังสือ "ทางสายกลางแห่งการวิจารณ์" รวมบทความและบทวิจารณ์ของอาจารย์เจตนา นาควัชระ สำนักพิมพ์ openbooks

นักวิจารณ์มีอหังการพอที่จะกล่าวอ้างได้หรือว่าเขาเป็นหนึ่งในเสียงแห่งมโนธรรมของสังคม ไม่ว่านักวิจารณ์จะวางตัวไว้สูงหรือต่ำ พวกเขาก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการวิจารณ์เป็นกิจแห่งการประเมินคุณค่า และแม้ว่าจุดเริ่มต้นของการวิจารณ์ในที่นี้จะเป็นคุณค่าที่แฝงอยู่ในศิลปะหรือสื่อความได้โดยผ่านศิลปะ แต่ก็มิใช่จะขีดวงแต่เฉพาะคุณค่าในเชิงสุนทรียะเท่านั้น หากแต่ได้มีการแสดงทัศนะที่ว่าด้วยบริบท ดังเช่นในกรณีของตลาดยุคปัจจุบันที่มุ่งผลเชิงธุรกิจเสียจนไม่ลังเลที่จะบีบบังคับให้เกิดการผลิตงานที่มุ่งปลุกสัญชาตญาณใฝ่ต่ำ

ถ้าการวิจารณ์ก่อให้เกิดความสำนึกและการอภิปรายถกแถลงในประเด็นที่กล่าวมานี้ได้ ความสนใจที่มหาชนจะมีให้ต่องานวิจารณ์ ศักยภาพของการคิดเชิงวิจารณ์ ความมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ขึ้นมาให้เป็นพลังทางปัญญาของสังคม อาจเป็นทางให้เราก้าวพ้นจากวังวนของสัญชาตญาณใฝ่ต่ำก็ได้ ถ้าจุดเริ่มต้นคือสุนทรียภาพ ทางสายกลางแห่งการวิจารณ์อาจจะนำเราไปสู่ปลายทางคือจริยธรรมก็ได้

จัดทำโดย สำนักพิมพ์ openbooks 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครชัยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 02-669-5145 โทรสาร 02-669-5146
www.onopen.com
onopenon@yahoo.com
www.facebook.com/openbooks
จากวินทร์ถึงปราบดา: ปรากฏการณ์ของการวิจารณ์วรรณกรรมไทยร่วมสมัย
ดาวน์โหลด PDF ไฟล์หนังสือได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1YblomWnnkI72GyBa-WcN4EygV21Bxv09/view?usp=sharing
ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ: ทัศนะของนักวิชาการไทย
ทวิวัจน์แห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์ (ภาค๑)
ทวิวัจน์แห่งการวิจารณ์ทัศนศิลป์ (ภาค๑)
การวิจารณ์กับทวิวัจน์ข้ามชาติ
WordPress Theme: Smartline by ThemeZee.